สถิติ
เปิดเมื่อ23/06/2019
อัพเดท6/09/2019
ผู้เข้าชม2601
แสดงหน้า2842
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




ศึกษาธรรมะชั้นสูง

อ่าน 275 | ตอบ 0
ถามตอบธรรมะชั้นสูง
  1. พระพุทธพจน์ในสมัยพุทธกาล มีอะไรบ้าง แต่ละชื่อมีอธิบายอย่างไร อ้างพระพุทธพจน์ประกอบการอธิบาย
ตอบ   ๑. พรหมจรรย์  คือ ทางดำเนินชีวิตอย่างประเสริฐ ดังเช่นพุทธพจน์ที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่เพื่อเรียกร้องคนให้มานับถือ มิใช่เพื่อประโยชน์แก่ลาภสักการะและชื่อเสียง ที่แท้เพื่อสำรวม เพื่อละกิเลส เพื่อคลายความกำหนัดยินดี เพื่อดับทุกข์”


๒.  ธรรมวินัย หมายถึง คำ ๒ คำรวมกัน คือ ธรรมะและวินัย  ธรรม หมายถึง คำสอนที่ทรงมุ่งแสดงเนื้อหา อัตถะ หรือสภาวะของธรรมล้วนๆไม่มีบัญญัติ บุคคล เวลา สถานที่มาเกี่ยวข้อง ส่วนคำว่า วินัย คือ คำสอนในส่วนที่เป็นบทบัญญัติและขนบธรรมเนียมเพื่อบริหารหมู่คณะขงสังคมที่อยู่รวมกันให้เป็นระเบียบเรียบร้อยดีงาม ดังเช่นพุทธพจน์ที่ว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”


๓. สุตะ หมายถึง พุทธพจน์ ๙ ประการ คือ สุตตะ๑ เคยยะ ๑ เวยยากรณ ๑ คาถา ๑ อุทานะ๑ อิติวุตกะ ๑ ชาตกะ ๑ อัพภูตธัมมะ ๑ เวทัลละ ๑
 
พุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้างคือ ๑ บุคคลผู้มีสุตตะน้อยทั้งเข้าไม่ถึงสุตตะ ๒ บุคคลผู้มีสุตตะน้อย แต่เข้าถึงสุตตะ
 
๓ บุคคลผู้มีสุตตะมากแต่เข้าไม่ถึงสุตตะ ๔ บุคคลผู้มีสุตตะมากทั้งเข้าถึงสุตตะ บุคคลผู้มีสุตตะน้อยทั้งเข้าไม่ถึงสุตตะเป็นอย่างไร คือบุคคลในโลกนี้มีสุตตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ น้อย ทั้งเขาก็รู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้นแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะน้อยเข้าไม่ถึงสุตะอย่างนี้แล”


๔. อภิธรรม อภิวินัย คำว่า อภิธมฺม อภิวินย อรรถกถาขยายความว่า “อภิธมฺเม อภิวินเยติ อภิธมฺมปิฏเก เจว วินยปิฏเก จ ปาลิวเสน เจว อฏฺฐกถาวเสน จ โยโค กรณีโย” แปลว่า ควรทำโยคะในอภิธรรม ในอภิวินัย กล่าวคือ ในอภิธรรมด้วย ในวินัยปิกกด้วย โดยทางพระบาลีด้วย โดยทางอรรถกถาด้วย ดังพุทธพจน์ว่า “ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผุ้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจมีความปราโมทย์อย่างยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและเป็นผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัยนี้ก็เป็นนาถกรณธรรม”


๕. อภิธรรมกถา เวทัลลกถา ถือว่าเป็นพุทธพจน์อีกองคืหนึ่ง ดังพุทธพจน์ว่า “ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่มีศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญาแสดงอภิธัมมกถา เวทัลลกถา ถลำลงสู่ธรรมดำก็จักไม่รู้ตัว โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยจึงเลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมจึงเลอะเลือน”


๖. ธรรม หมายถึง ที่รวมหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังมีพุทธพจน์ปรากฏว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมตามที่ตนสดับมา ตามที่ตนเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอปล่อยให้วันคืนล่วงเลยไป ละการหลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจภายในเพราะการแสดงธรรมนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการแสดงธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม”

 
  1. จงอธิบายความเป็นมาของพระอภิธรรมปิฎกตั้งแต่สมัยสังคายนาครั้งที่ ๑ จนถึงครั้งที่๕
ตอบ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๑
          ทำหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน ประธานสงฆ์คือ พระมหากัสสปเถระ พระเจ้าอาชาตศัตรูทรงเป็นประธานอุปถัมภ์ มีพระอรหันต์ ๕๐๐ รูปเป็นองค์ประชุม ปรารภเหตุพระสุภัททวุฑฒบรรพชิตกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยหลังพุทธปรินิพพาน ๗ วัน มติที่ประชุมคือรวบรวมพระธรรมวินัยดั้งเดิมไว้ ห้ามเพิกถอนหรือเพิ่มเติมจากที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ ยุคสังคายนาครั้งที่ ๑ ยังคงเรียกพุทธพจน์ว่า ธรรมวินัย เหมือนครั้งพุทธกาลไม่มีคำว่า อภิธรรมและยังไม่ถูกจัดในรูปไตรปิฎก
สมัยสังคายนาครั้งที่ ๒
          ทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๑๐๐ ปี พระยสกากัณฑกบุตรเป็นประธาน พระเจ้ากาลาโศกราช เป็นผุ้อุปถัมภ์ มีพระอรหันต์ ๗๐๐ รูปเป็นองค์ประชุม มีพระเรวตเถระเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเถระเป็นผู้ตอบ ปรารภเหตุที่ภิกษุวัชชีบุตรประพฤติย่อหย่อน โดยอ้างวัตถุ ๑๐ ประการคัดค้านพระธรรมวินัย ทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ใช้เวลา ๘ เดือน 
ผลการสังคายนาครั้งที่ ๑-๒ มี ๓ ประการดังนี้
๑ ในแง่ของเถรวาทกล่าวได้ว่าสามารถชำระความถูกต้องของการตีความวินัยผิดได้ถูกต้อง
๒ ก่อให้เกิดการแตกแยกทางความคิดในพระพุทธศาสนา
๓ เป็นบ่อเกิดนิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งไม่ยอมรับสังคายนาครั้งนี้


สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓
          ทำหลังจากพุทธปรินิพพานแล้ว ๒๓๔ ปี มีพระโมคคลลีบุตรติสสเถระเป็นประธานและเป็นผู้ปุจฉา พระมัชฌันติกเถระและพระมหาเทวเถระเป็นผู้วิสัชนา ปรารภเหตุคือเดียรถีย์ปลอมบวชปะปนกับภิกษุในพระพุทธศาสนา ในการทำสังคายนานี้ พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ ได้ภาษิตคัมภีร์กถาวัตถุอีก ๑ คัมภีร์ รวม ๗ คัมภีร์ ผลในการสังคายนาครั้งที่ ๓ มีดังนี้
๑ สามารถขจัดอลัชชีในพระพุทธศาสนาได้ และรวบรวมพระธรรมวินัยให้บริสุทธิ์
๒ มีการแยกพระไตรปิฎกเป็น ๓ อย่างสมบูรณ์
๓ ได้มีการส่งพระมหาเถระออกไปเป็นพระธรรมทูตในเมืองต่างๆ ๙สายสืบทอดพระพุทธศาสนา


สมัยสังคายนาครั้งที่ ๔
          กระทำที่อินเดียภาคเหนือ ณ เมืองชาลันทร แต่บางหลักฐานก็ว่า กระทำที่เมืองกาษมีระหรือแคชเมียร์ ภิกษุที่เข้าประชุมมีทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน กระทำเมื่อ พ.ศ. 643 มีกษัตริย์ประเทศราชมาร่วม 21 พระองค์ มีทั้งพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนและพราหมณ์ผู้ทรงความรู้ประชุมกัน การสังคายนาครั้งนี้จึงมีลักษณะผสมคือ มีทั้งพุทธและพราหมณ์ ภาษาที่ใช้สำหรับพระไตรปิฎกไม่เหมือนกัน คือฝ่ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสังสฤต (บางครั้งก็ปนปรากิต) การสังคายนาครั้งนี้ ไม่มีบันทึกหลักฐานทางฝ่ายเถรวาท


สมัยการสังคายนาครั้งที่ ๕
          มูลเหตุ : ทาง การคณะสงฆ์ชาวลังกาและทางราชการบ้านเมืองเห็นว่า พระธรรมวินัยหรือพระพุทธวจนะที่ได้สังคายนาไว้นั้น มีความสำคัญมาก นับเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา หากจะพิทักษ์รักษาธรรมวินัยให้ดำรงอยู่สืบไปด้วยวิธี การท่องจำดังที่เคยถือปฏิบัติกันมา ก็อาจมีข้อวิปริตผิดพลาดได้ง่าย เพราะความจำของผู้บวชเรียนเสื่อมถอยลง ในการสังคายนาครั้งนี้ จึงได้ตกลงจารึกพระธรรมวินัยหรือพระพุทธวจนะ เป็นภาษามคธอักษรบาลีลงในใบลาน พร้อมทั้งคำอธิบายพระไตรปิฎกที่เรียกว่า อรรถกถา ซึ่งเดิมเป็นภาษามคธอักษรบาลี นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจารึกพระธรรมวินัยเป็นภาษ ามคธอักษรบาลีเป็นหลักฐาน ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร พระไตรปิฎกลายลักษณ์อักษร จึงมีขึ้นเป็นฉบับแรกในพระพุทธศาสนา นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 2 ในลังกาทวีป
สถานที่ : อาโลกเลนสถาน ณ มตเลชนบท ในลังกาทวีป
องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย
การจัดการ : พระ รักขิตมหาเถระเป็นประธานและเป็นผู้ซักถามพระธรรมวินัย พระติสสเถระเป็นผู้ตอบข้อซักถาม มีพระสงฆ์ผู้เป็นองค์พระอรหันต์ และพระสงฆ์ปุถุชนเข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์ จำนวนกว่า 1,000 รูป
ระยะเวลา : 1 ปี จึงสำเร็จ

 
  1. ในอรรถกถาอัฏฐสาลินี แบ่งพระอภิธรรมปิฎกเป็นกี่สมัย และแต่ละสมัยแบ่งอย่างไร จงอธิบายให้ชัดเจน
ตอบ ในอรรถกถาอัฏฐสาลินี แบ่งพระอภิธรรมปิฎกเป็น ๔ สมัยและแต่ละสมัยแบ่งดังนี้คือ
          สมัยที่ ๑ คือ สมัยรวมอยู่ในพระสูตร มิได้แยกตัวออกเป็นเอกเทศ เช่น มหาสติปัฎฐานสูตร ในอัตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน จำแนกจิตไว้ถึง ๑๖ อย่าง เป็นต้น ตัวอย่างที่ยกมามีเค้าอภิธรรมอย่างชัดเจน เพราะกล่าวถึงปรมัตถ์ล้วนๆ
          สมัยที่ ๒ คือสมัยที่เป็นนิทเทสของพระสูตร คือ มีคำว่าอภิธมฺเม อภิวินเย ซึ่งเป็นบทอุทเทส และขยายออกเป็นนิทเทส คือไขอรรถออกไปด้วยพระองค์บ้าง พระสาวกไขอรรถแห่งพุทธวจนะในรุปปุจฉาวิสัชนากันบ้าง
          สมัยที่ ๓ คือสมัยแยกตัวจากพระสูตรอย่างชัดแจ้ง เป็นปิฎกหนึ่งต่างหาก คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ พระสาวกได้รวบรวมข้ออภิธรรมนิทเทสต่างๆจัดเป็นปิฎกที่ ๓เรียกว่าพระอภิธรรมปิฎก
          สมัยที่ ๔ คือ สมัยรวบรวมพระสารัตถะของพระอภิธรรมไว้ย่อๆเพื่อสะดวกแก่การจดจำเป็นร้อยแก้วบ้างร้อยกรองบ้างต่อมามีนักปราชญ์เห็นว่าย่อความเกินไปจึงแต่งขยายเพิ่มอีก เช่น อภิธัมมัตถวิภาวินี ขยายความ อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น

 
  1. จงอธิบายความเป็นมาของพระอภิธรรมปิฎก สมัยหลังพุทธกาลโดยสังเขป
ตอบ พระอภิธรรมปิฎก เป็นชื่อของปิฎกหนึ่งในสามปิฎกหรือพระไตรปิฎก คือพระวินัยปิฎก 
พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม  พระอภิธรรมปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรมที่เป็นปรมัตถ์หรือพระธรรมระดับสูง ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งเป็นหลักธรรมล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์เหมือน พระสุตตันตปิฎก นับเป็นธรรมขันธ์ได้ ๔๒,๐๐๐  พระธรรมขันธ์   พระอภิธรรมปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ คือ สังคณี วิภังค์ ธาตุกถา บุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน ใช้อักษรย่อว่า สัง วิ ธา ปุ ก ย ป อักษรย่อ 7 คำนี้ เรียกกันว่า หัวใจพระอภิธรรม
 
  1. นวังคสัตถุศาสตร์ คือคำสอนเช่นไร แยกเป็นกี่ประเภท แต่ละประเภทมีคำอธิบายว่าอย่างไร
ตอบ นวังคสัตถุศาสน์ ( อ่านว่า นะวังคะสัดถุสาด แปลว่า คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ ) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดซึ่งแบ่งเป็นส่วนย่อยตามลักษณะที่เหมือนกันได้ ๙ อย่าง คือ
๑. สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส)
๒. เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด)
๓. เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น)
๔. คาถา (ความร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น)
๕. อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร)
๖. อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร)
๗. ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง)
๘. อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือ พระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ)
๙. เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้วซักถามยิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น) เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์ ดู ไตรปิฎก
ดังนั้น นวังคสัตถุศาสน์ จึงหมายถึง พระพุทธพจน์ หรือ พระธรรมวินัย ก็ได้

 
  1. ธัมมสังคณี หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลสภาวธรรมหรือปรมัตถธรรมล้วนๆไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า กัณฑ์ มี ๔ กัณฑ์ คือ
๑) จิตตวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำแนกจิตและเจตสิกเป็นต้น
๒) รูปวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำแนกรูปเป็นต้น
๓) นิกเขปราสิกัณฑ์ แสดงธรรมที่เป็นแม่บท (มาติกา) ของปรมัตถธรรม
๔) อัตถุทธารกัณฑ์ แสดงการจำแนกเนื้อความตามแม่บทของปรมัตถธรรม
 
  1. คัมภีร์ธัมมสังคณี แสดงมาติกากี่นัยอะไรบ้าง
ตอบ ธัมมสังคณี ต้นเล่มแสดง มาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ มีทั้งชุด ๓ เช่น จัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามีเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม ชุดหนึ่ง เป็นอดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ  และชุด ๒ เช่น จัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสังขตธรรม อสังขตธรรม ชุดหนึ่ง รูปีธรรม อรูปีธรรม ชุดหนึ่ง โลกียธรรม โลกุตตรธรรม ชุดหนึ่งเป็นต้น รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา จากนั้นขยายความมาติกาที่ ๑ เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรมที่กระจายออกไปโดย จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ท้ายเล่มมีอีก ๒ บท แสดงคำอธิบายย่อหรือคำจำกัดความข้อธรรมทั้งหลายในมาติกาที่กล่าวถึงข้างต้นจนครบ ๑๖๔ มาติกา ได้คำจำกัดความข้อธรรมใน ๒ บท เป็น ๒ แบบ (แต่บทท้ายจำกัดความไว้เพียง ๑๒๒ มาติกา)
 
  1. ในจิตตุปปาทกัณฑ์มีการแสดงจิตตามลำดับอย่างไรบ้าง
ตอบ ได้กล่าวแล้วโดยใจความว่า จิตตุปปาทกัณฑ์  เป็นภาคอธิบายภาคแรกของ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้ ซึ่งมีภาคบทตั้ง ๑ ภาค ภาคอธิบาย ๔ ภาค. การตั้งเค้าโครงอธิบายของภาคแรก เจาะจงอธิบาย เพียงคำ ๓ คำ คือ กสุลา ธมฺมา ( กุศลธรรม ) อกุสลา ธมฺมา ( อกุศลธรรม ) และ อพฺยาตกา ธมฺมา ( อัพยากตธรรม คือ ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ) แล้วอธิบายเป็นเรื่องของจิต ส่วนการแบ่งเป็นกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร, โลกุตตระ ได้นำมาแบ่งภายใต้หัวข้อของกุศลธรรม, ภายใต้หัวข้อของอกุศลธรรมมีกามาวจรอยู่อย่างเดียว, ภายใต้หัวข้อของ อัพยากตธรรมหรือธรรมที่เป็นกลาง ๆ คงมีทั้งกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร, และโลกุตตระ. ธรรมที่เป็นกลาง ๆ นั้น ได้แก่จิต ที่เป็นวิบากและเป็นกิริยา. เป็นอันว่า จิตตุปปทกัณฑ์ อันเป็นคำอธิบายภาคแรก  เจาะจงอธิบายเรื่องจิตที่ดี ที่ไม่ดี และที่เป็นกลาง ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็ได้อธิบายเจตสิก คือ ธรรมที่เนื่องด้วยจิตพร้อมกันไปใน ตัวด้วย. ต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นลีลาในการอธิบาย คำว่า ธรรมอันเป็นกุศล ในตอนแรกของจิตตุปปทกัณฑ์

 
  1. จงชี้แจงเหตุและผลที่ทรงแสดงกุศล อกุศล และอัพยากฤต ในกุสลติกมาติกา
ตอบ  เหตุผลที่ทรงแสดง กุศลธรรมต่อจาก อกุศลกรรมนั้น คือ ตามธรรมดาทรงแสดง กุศล อกุศล อัพยากฤตธรรมตามลำดับนั้น ก็ทรงแสดงตามลำดับแห่งการปฏิบัตินั้นเอง คือ ผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ในกุศลธรรม และประหาณอกุศลธรรม แล้วกระทำอรหัตผล นิพพานให้ปรากฏเฉพาะหน้าตามลำดับทั้งสิ้น ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงทรงแสดง กุศล  อกุศล  อัพยากตธรรม ตามลำดับ

 
  1. จงแสดงเหตุและผลของการจำแนกจิตเป็นชาติกุศล อกุศล วิบาก และกิริยามาให้ถูกต้อง
ตอบ เหตุผลที่ทรงแสดงอกุศลธรรมต่อจากกุศลธรรมนั้น คือ ตามธรรมดาอกุศลนี้ ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อกุศลธรรมอยู่แล้ว   ฉะนั้นเพื่อให้เห็นสภาพที่ตรงกันข้าม อนึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมตามลำดับ   จึงทรงแสดงกุศลธรรมก่อน สภาพความเป็นไปของอกุศลธรรมเหล่านี้   มีโทษซึ่งไม่น่ายินดีพอใจ
  1. เจตสิก มีความสัมพันธ์กับจิตอย่างไรบ้าง
ตอบ เจตสิกเป็นธรรมที่มีในใจ หรือในจิต ( อาศัยจิตเกิด ) หรือธรรมชาติที่ประกอบกับจิตด้วยลักษณะ  ๔  ประการ คือ
๑.  เอกุปฺปาท                   เกิดพร้อมกับจิต
๒. เอกนิโรธ            ดับพร้อมกับจิต
๓.  เอกาลมฺพน        มีอารมณ์อันเดียวกับจิต
๔.  เอกวตฺถุก          มีที่อาศัยแห่งเดียวกับจิต         ( ในปัญจโวการภูติ  )

 
  1. นิพพานมีสภาวะลักษณะอย่างไร
ตอบ    นิพพาน   หมายถึง  สภาวะแห่งความสิ้นกิเลส ไฟกิเลสคือ ราคะ โทสะ โมหะ และกองทุกข์
 
การแสดงมาติกาในนิกเขปกัณฑ์และอัฏฐกถากัณฑ์นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร
 
ตอบ นิกเขปกัณฑ์ อธิบายมาติกาทั้งหมดทั้ง ๑๖๔ มาติกา แต่อธิบายสั้นๆ อย่างที่เรียกว่า ให้คำจำกัดความไปตามลำดับจนครบทุกมาติกา
อรรถกถากัณฑ์ คือคำอธิบายเนื้อความ ขยายข้อความพระไตรปิฎกซึ่งในสมัยครั้งพุทธกาลก็มีแล้ว คือส่วนหนึ่งมาจากปกิณณกเทศนาของพระพุทธองค์   ส่วนหนึ่งก็มาจากพระ-อรหันต์สาวกมีท่านพระสารีบุตรเป็นต้นท่านอธิบายไว้  แต่ในตอนที่ทำสังคายนาท่านไม่ได้ยกขึ้นแสดง  ส่วนหนึ่งเป็นคำอธิบายจากพระอรรถกถารุ่นต่อมา  ซึ่งท่านก็ยกข้อความจากพระสูตรนิกายอื่นๆมาอธิบาย       ดังนั้นโดยเนื้อหาสาระแล้วคำอธิบายจากอรรถกถาไม่ได้ต่างจากพระบาลี(พระพุทธพจน์)    แต่เมื่อไม่ได้ยกขึ้นสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง จึงไม่เรียกว่าพระไตรปิฎก   
 
  1. จงอธิบายความหมายของคำว่าวิภังค์
ตอบ วิภังค์  หมายถึง การแจกแจง หรืออธิบายหลักธรรมสำคัญๆ ทั้ง ๑๘ วิภังค์โดยละเอียด โดยมีลำดับขั้นตอนคล้ายคลึงกัน คือ
          ก. สุตตันตภาชนียะ คือ อธิบายตามแนวพระสูตร
          ข. อภิธรรมภาชนียะ คืออธิบายตามแนวพระอภิธรรม
          ค. ปัญหาปุจฉกะ เป็นการถาม การตอบ ตามหลักมาติกาในสังคณี

 
  1. จงอธิบายประเภทของวิภังค์
ตอบ การแยกกลุ่มหรืออธิบายแจกรายละเอียดของธรรมะต่าง ๆ ออกไปในเล่มที่ ๓๕ นี้ มี ๑๘ หมวด คือ
๑. ขันธวิภังค์ แจกขันธ์ ๕            
๒. อายตนวิภังค์ แจกอายตนะ ๑๒
๓. ธาตุวิภังค์ แจกธาตุ ๖ และธาตุ ๑๘     
๔. สัจจวิภังค์ แจกอริยสัจจ์ ๔
๕. อินทริยวิภังค์ แจกอินทรีย์ ๒๒  
๖. ปัจจยาการวิภังค์ แจกปัจจยาการ ๑๒ ที่เรียกว่าปฏิจจสมุป
๗. สติปัฏฐานวิภังค์ แจกสติปัฏฐาน ๔       
๘. สัมมัปปธานวิภังค์ แจกสัมมัปปธาน ( เพียรชอบ ) ๔
๙. อิทธิปาทวิภังค์ แจกอืทธิบาท ๔            
๑๐. โพชฌังควิภังค์ แจกโพชฌงค์ ๗
๑๑. มัคควิภังค์ แจกมรรคมีองค์ ๘            
๑๒. ฌานวิภังค์  ( การเพ่งอารมณ์ ) ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน
๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์ แจกอัปปมัญญา ๔ ( พรหมวิหาร ๔ ที่แผ่ไปโดยไม่ กำหนดประมาณ )
๑๔. สิกขาปทวิภังค์ แจกสิกขาบท ๕ คือศีล ๕
๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์ แจกปฏิสัมภิทา ( ความแตกฉาน ) ๔
๑๖. ญาณวิภังค์ แจกญาณ ( ความรู้ ) ตั้งแต่หมวด ๑ ถึงหมวด ๑๐
๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์ แจกเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ตั้งแต่หมวดที่ ๑ ถึงหมวดที่ ๑๘ และทิฏฐิ ๖๒
๑๘. ธัมมหทยวิภังค์ แจกหัวใจหรือหัวข้อธรรม
 
  1. จงอธิบายการจำแนกวิภังค์โดยนัย ๓ ประการ
ตอบ ก. สุตตันตภาชนียนัย หมายถึงการจำแนกธรรมตามที่แสดงไว้ในพระสูตรโดยอนุโลมตามอัธยาศัย หรือจริตของเวไนยสัตว์แต่ละบุคคลเป็นการแสดงตามสถานการณ์เป็นไปอยู่ ณ สถานที่นั้นๆ ด้วยเหตุนี้พระสูตรจึงเป็นเทศนาที่มีเนื้อความชัดเจน ง่ายต่อความเข้าใจแต่ยังไม่สมบูรณ์ เพราะองค์ธรรมไม่สมบูรณ์และนัยต่างๆยังไม่สมบูรณ์ จึงทรงเรียกนัยที่แสดงไว้ในสุตตันตปิฎกว่า สุตตันตภาชนียนัย
          ข. อภิธรรมภาชนียนัย หมายถึง การจำแนกธรรมตามกระบวนการแห่งพระอภิธรรม ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงสถานที่ เวลา หรือบุคคล แต่มุ่งแสดงองค์ธรรมให้สมบูรณ์ด้วยนัยต่างๆอย่างเดียว
          ค. ปัญหาปุจฉกนัย เป็นการถาม การตอบ ตามหลักมาติกาในสังคณี หมายถึง การนำเอาติกและทุกะจากคัมภีร์ธัมมสังคณีมาตั้งเป็นคำถาม-คำตอบ ทั้งนี้นำเอาบทติกะทั้งหมด ๖๖ บทและทุกะ ๒๐๐ บท มาจำแนกด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุ เป็นต้น วิภังค์ ปัญหาปุจฉกนัยที่กว้างขวาง พิสดารและสมบูรณ์ที่สุด

 
  1. จงอธิบายความแตกต่างของรูปขันธ์
ตอบ รูปขันธวิภังค์ คือ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูปอดีต รูปอนาคต รูปปัจจุบัน รูปภายในรูปภายนอก รูปหยาบ รูปละเอียด รูปทราม รูปประณีตรูปไกล รูปใกล้ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่ารูปขันธ์
  1. จงวิเคราะห์ความสำคัญของขันธวิภังค์
ตอบคำว่า ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ดังนี้ นี้ ชื่อสุตตันตภาชนีย์ ในขันธวิภังค์ อันเป็นวิภังค์ต้นแห่งวิภังค์ปกรณ์. ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ๕ เป็นคำ กำหนดจำนวน ด้วยคำว่า ๕ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า ขันธ์ ทั้งหลายมีไม่น้อยกว่านั้นไม่มากกว่านั้น. คำว่า ขันธ์ เป็นคำแสดงธรรมที่ทรง กำหนดไว้.
 
 
  1. พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ ได้ชื่อว่า “ธาตุกถา” เพราะเหตุใด
ตอบ ธาตุกถา ถ้อยคำว่าด้วยธาตุ เนื้อหาสำคัญของเรื่องนี้คือคำที่เป็นบทในภิวังค์ ๑๓ หัวข้อ ตั้งแต่ขันธ์จนถึงอัปปมัญญา ตามลำดับ กับหัวข้อธรรมในธัมมสังคณี จะนำมาสงเคราะห์เข้ากันได้หรือไม่ได้กับธรรม ๓ ประการ คือ ขันธ์, อายตนะ, ธาตุ,
 
  1. มาติกา ๕ อย่าง ในอุทเทสของธาตุกถาปกรณ์ ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ มาติกา ๕ อย่าง ในอุทเทสของธาตุกถาปกรณ์ ได้แก่
        ๑. นยมาติกา ๑๔ นัย
          ๒. อัพภันตรมาติกา  ๒ นัย (๑๒๕ บท)
          ๓. นยมุขมาติกา ๔ นัย
          ๔. ลักขณมาติกา ๒ 
          ๕. พาหิรมาติกา ๒๖๖

 
  1. นยมุขมาติกา มีกี่นัย ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ นยมุขมาติกา  มี ๔  นัย  ได้แก่
                 ๑.  ตีหิ สงฺคโห                     การสงเคราะห์ได้ด้วยธรรม ๓
                      ๒.  ตีหิ อสงฺคโห                  การสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรม ๓
                      ๓.  จตูหิ  สมฺปโยโค             การประกอบได้ด้วยธรรม ๔
                      ๔.  จตูหิ  วิปฺปโยโค             การประกอบไม่ได้ด้วยธรรม

 
  1. จงแสดงความแตกต่างของอัพภันตรมาติกากับพาหิรมาติกา
ตอบ อัพภันตรมาติกา  มาติกาที่ทรงตั้งไว้ ๑๒๕ บท
ว่า ' ปญฺจกฺขนฺธา ฯ เป ฯ มนสิกาโร
จริงอยู่  มาติกานี้   ท่านเรียกว่า  อัพภันตรมาติกา  เพราะความที่มาติกานี้ พระองค์ไม่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า    ' ธรรมสังคณีแม้ทั้งหมด   เป็นมาติกาใน ธาตุกถา
' พาหิรมาติกา ' มาติกาที่ทรงย่อตั้งบทติกะ ๖๖ และบททุกะ ๒๐๐ ว่า   ' ธัมมสังคณี 
แม้ทั้งหมดเป็นมาติกาในธาตุกถา '  จริงอยู่ มาติกานี้   เรียกว่า  ' พาหิรมาติกา ' ก็เพราะความที่มาติกานี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสไว้ภายในธาตุกถาอย่างนี้ว่า ' ปญฺจกฺจนฺธา ฯลฯมนสิกาโร ' ดังนี้ ทรงตั้งไว้ภายนอกจากมาติกาแห่งธาตุกถา อย่างนี้ว่า ' ธัมมสังคณีแม้ทั้งปวงเป็นมาติกา '

 
  1. จิต ๘๙ สงเคราะห์โดยขันธ์ อายตนะ และธาตุได้เท่าไหร่ อะไรบ้าง
ตอบ ตามตำราไตรปิฎกกล่าวถึงดวงจิตว่ามี ๘๙ ดวง แต่ถ้าเป็นจิตที่พิสดารจะมีถึง ๑๒๑ ดวงจำแนกได้เป็นประเภทตามอาการที่รู้นั้นได้เป็น ๔ ประเภท คือ
๑. กามาวจรจิต ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔๐ ดวง

 
  1. เจตสิก ๕๒ สามารถประกอบกับขันธ์ อายตนะ และธาตุได้เท่าไหร่ อะไรบ้าง
ตอบ เจตสิกหมายถึงองค์ประกอบของจิต อาการหรือการแสดงออกของจิต คุณสมบัติของจิต มีลักษณะที่เกิดดับพร้อมกับจิต เป็นอารมณ์ของจิต มีวัตถุที่อาศัยเดียวกับจิต เป็นกฎเกณฑ์ให้ประกอบเป็นจิต เจตสิกแยกเป็นขันธ์ ได้ 3 ขันธ์ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ (คือความแปรปรวนทางนามธาตุ) สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลืออีก 50 เป็น สังขารขันธ์ เจตสิกจัดเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของพระอภิธรรมปิฎกซึ่งมี 4 เรื่องคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน และจัดเป็นเรื่องสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่งด้วย

 
  1. รูป ๒๘ สงเคราะห์ไม่ได้โดยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไหร่ อะไรบ้าง
ตอบ การสงเคราะห์ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ของ รูป รูป ๒๘ เมื่อสงเคราะห์โดยขันธ์ได้ รูปขันธ์ ๑ รูป เมื่อสงเคราะห์โดยอายตนะได้ อายตนะ ๑๑ คือ โอฬาริกายตนะ ๑๐ ธัมมายตนะ ๑ รูป ๒๘  เมื่อสงเคราะห์โดยธาตุได้ธาตุ ๑๑ คือ โอฬาริกธาตุ ๑๐ ธัมมธาตุ ๑ รูป ๒๘  เมื่อสงเคราะห์โดยอายตนะ และธาตุ แต่ละรูปจะสงเคราะห์ได้อายตนะ ธาตุ ดังนี้ ใน รูป ๒๘ เหล่านั้น จักขุปสาท ๑ สงเคราะห์ได้ จักขายตนะ ๑ จักขุธาตุ ๑ โสตปสาท ๑ สงเคราะห์ได้ โสตายตนะ ๑ โสตธาตุ

 
  1. นิพพานไม่ประกอบด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไหร่ อะไรบ้าง
ตอบ นิพพาน หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์คัมภีร์พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะกล่าวถึงนิพพาน ๒ ประเภท คือ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุยังมีอุปาทิเหลือ ยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ กล่าวคือดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุที่ไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ กล่าวคือดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่อีก
 
  1. จงแสดงความหมายของคำว่า “บุคคล” และคำว่า “บัญญัติ”
ตอบ บุคคล หมายถึง   สิ่งที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย  โดยแบ่งบุคคลออกเป็น  ๒
ประเภท คือ.
บุคคลธรรมดา หมายถึง มนุษย์ซึ่งมีสภาพบุคคลและสิ้นสุดสภาพบุคคลโดยการตายและ
ต้องมีสิ่งซึ่งประกอบ หรือทำให้ความเป็นบุคคลปรากฏชัดเจนขึ้น
นิติบุคคล หมายถึง กลุ่มบุคคลหลายคนร่วมกันตั้งกลุ่มขึ้นโดยอาศัยอำนาจในทางกฎหมาย
กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะบุคคล หน่วยงาน บริษัทจำกัด กองทรัพย์สิน ฯลฯ
คำบัญญัติ คือ การกำหนด หรือตั้งคำพูดเพื่อใช้เรียกขาน บรรดาวัตถุหรือสิ่งของที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้ใช้พูดจากันรู้เรื่อง หมายความว่า ภาษาคำพูดทั้งหมดเป็นบัญญัติทั้งสิ้น เมื่อบัญญัติคำใดขึ้นก็ตาม จะต้องมีสิ่งรองรับคำบัญญัตินั้นอยู่ก่อนแล้ว ใครจะคิดตั้งเป็นบัญญัติคำพูดขึ้น โดยที่ไม่มีวัตถุหรือสิ่งของรองรับคำบัญญัตินั้นไม่ได้เลย

จงแสดงความหมายของบัญญัติ ๖ ประการ มาให้ถูกต้อง
ตอบ ๑. ขันธบัญญัติ คือการบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันว่าเป็นขันธ์
        ๒ อายตนบัญญัติ คือ การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นบ่อเกิดว่าเป็นอายตนะ
        ๓ ธาตุบัญญัติ คือ การบัญญัติสภาวธรรมที่ทรงตัวอยู่ว่าเป็นธาตุ
        ๔ สัจจบัญญัติ คือ การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นความจริงว่าสัจจะ
        ๕ อินทริยบัญญัติ คือ การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นใหญ่ว่าเป็นอินทรีย์
        ๖ ปุคคลบัญญัติ คือ การบัญญัติเหล่าบุคคลว่าเป็นบุคคล
การบัญญัติบุคคลว่าเป็นปุคคลบัญญัติ จะมีได้ ด้วยประมาณเท่าไร ? แก้ว่า จะมีได้ ด้วยประมาณเท่านี้ คือบุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากสมัย, บุคคลผู้ไม่พ้นวิเศษแล้วจากสมัย, บุคคลผู้มีฌานกำเริบ, บุคคลผู้มีฌานไม่กำเริบ, บุคคลผู้มีฌานธรรมเสื่อม, บุคคลผู้มีฌานธรรมไม่เสื่อม, บุคคลผู้ไม่ควรเสื่อมเพราะเจตนา, บุคคลผู้ควรแก่การตามรักษา, บุคคลผู้เป็นปุถุชน, บุคคลผู้ที่ได้โคราภูญาณ, บุคคลผู้อันเว้นจากภัย, บุคคลผู้อันไว้เว้นจากภัย, บุคคลผู้มาถึงความเป็นผู้ควร, บุคคลผู้มาถึงความเป็นผู้ไม่ควร, บุคคลผู้แน่นอน, บุคคลผู้ที่ปฏิบัติแล้ว, บุคคลผู้ที่ตั้งอยู่ในผล, บุคคลเป็นอรหันต์, บุคคลผู้ที่ดำเนินไปแล้ว เพื่อความเป็นอรหันต์ ฯ
 
  1. จงแสดงความแตกต่างระหว่างบัญญัติ ๕ ประการแรก กับปุคคลบัญญัติมาให้ถูกต้อง
ตอบ  ปุคคลบัญญัติ แปลว่า การบัญญัติบุคคล หมายความว่าบัญญัติความหมายของชื่อที่ใช้เรียกบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ เช่น บัญญัติความหมายคำว่าพระโสดาบันว่า 'บุคคลอย่างไหนเป็นโสดาบัน บุคคลใดละสังโยชน์ ๓ แล้ว บุคคลนั้นเรียกว่าพระโสดาบัน'

 
  1. ธาตุบัญญัติ ซึ่งมี ๑๘ อย่าง คืออะไรบ้าง
ตอบ การบัญญัติธรรมที่ทรงตัวอยู่ว่า ธาตุ มีเท่าไร ธรรมที่ทรงตัวอยู่มี  ๑๘ คือ
 ๑. จักขุธาตุ                            ๒. รูปธาตุ                   ๓. จักขุวิญญาณธาตุ
 ๔. โสตธาตุ                            ๕. สัททธาตุ             ๖. โสตวิญญาณ
๗. ฆานธาตุ                            ๘. คันธธาตุ               ๙. ฆานวิญญาณธาตุ
๑๐. ชิวหาธาตุ                  ๑๑. รสธาตุ                  ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๓. กายธาตุ                         ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ        ๑๕. กายวิญญาณธาตุ
๑๖. มโนธาตุ           ๑๗. ธัมมธาตุ            ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ
             การบัญญัติธรรมที่ทรงตัวอยู่ว่า ธาตุ ก็มี ๑๘ ตามจำนวนธรรมเหล่านี้

 
  1. จงแสดงความหมายของนิตยบุคคลอละอนิตยบุคคล
ตอบ นิยตบุคคล บุคคลผู้เที่ยงแล้ว เป็นไฉน ? บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรม ๕ จำพวก บุคคลผู้เป็นนิยคมิจฉาทิฏฐิและ พระอริยบุคคล ๘ จำพวกชื่อว่า นิยตะ ผู้เที่ยงแล้ว. บุคคลนอกนั้นชื่อว่า อนิยตะ คือ ผู้ไม่เที่ยง
  1. อภัพพาคมนบุคคล คือบุคคลเช่นไร
ตอบ อภัพพาคมนบุคคล คือ บุคคลผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้นคือกรรม เครื่องกั้นคือกิเลส เครื่องกั้นคือวิบาก เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญยาทราม ไม่ควรหยั่งลงสู่นิยามที่ถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย
  1. บุคคลที่เป็นปถุชนและบุคคลที่เป็นพระอริยะ มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ปุถุชน แปลว่า ผู้มีกิเลสหนา คือคนปกติที่ยังมีกิเลส, คนธรรมดาสามัญ, คนที่ยังมิได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยะ
        คำว่า อริยะที่ใช้กับบุคคลแปลว่า ผู้เจริญ ในทางพระพุทธศาสนาหมายเอาผู้ที่ดำเนินชีวิตตามมรรคาที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา (ปฏิบัติสายกลาง ไม่ตรึงนัก ไม่หย่อนนัก) เป็นผู้มีศีลธรรม เป็นไปตามเหตุตามผลที่บริสุทธิ์ ไม่มีอะไรแอบแฝง อันหมายถึง พระพุทธจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกของพระพุทธเจ้า
 
  1. จงแสดงความหมายของบุคคลที่หมดหวัง บุคคลที่ยังมีหวัง และบุคคลที่ปราศจากความหวัง
ตอบ บุคคลผู้ไม่มีความหวัง เป็นไฉนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ผู้ประกอบด้วย กายกรรมเป็นต้นอันไม่สะอาด และมีสมาจารอันผู้อื่นหรือตนพึงระลึกได้ด้วยความระแวง ผู้มีงานอันปกปิดผู้มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ผู้มิใช่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เน่าใน ผู้อันราคะชุ่มแล้ว ผู้มีหยากเยื่อมีราคะเป็นต้นเกิดแล้ว เธอได้ยินว่านัยว่า ภิกษุมีชื่ออย่างนี้รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม ดังนี้ เธอย่อมไม่เกิดความคิดอย่างนี้ว่า แม้เราก็จักรู้ยิ่งด้วยตนเองจักทำให้แจ้งจักเข้าถึงซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายสำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม ในกาลไหนๆโดยแท้ดังนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้ไม่มีความหวัง
บุคคลผู้มีความหวัง เป็นไฉนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม เธอได้ยินว่า นัยว่าภิกษุมีชื่ออย่างนี้รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม ดังนี้ เธอย่อมเกิดความคิดขึ้นว่า แม้เราก็รู้ยิ่งด้วยตนเองจักทำให้แจ้ง จักเข้าถึงซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม ในกาลไหนๆ
บุคคลผู้มีความหวังไปปราศแล้ว เป็นไฉนบุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม เธอได้ยินว่า นัยว่าภิกษุชื่ออย่างนี้ รู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้วซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรมดังนี้ เธอย่อมไม่เกิด ความคิดขึ้นว่า แม้เราก็รู้ยิ่งด้วยตนเอง จักทำให้แจ้งจักเข้าถึง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม ในกาลไหนๆ โดยแท้ดังนี้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่าความหวังในความหลุดพ้นใด ของพระขีณาสพนั้น ผู้ซึ่งเมื่อยังไม่หลุดพ้นในกาลก่อน ความหวังนั้นได้สงบระงับแล้วบุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีความหวังไปปราศแล้ว

 
  1. จงแสดงบุคคลที่เปรียบเหมือนคนตกน้ำ ๗ จำพวก ได้แก่บุคคลเช่นไรบ้าง
ตอบ ๑. บางคน จมครั้งเดียวก็ยังจมอยู่ตามเดิม  หมายถึง  ปุถุชนผู้ทุศีล
                      ๒. บางคน โผล่ขึ้นแล้วกลับจมลงอีก  หมายถึง  ปุถุชนผู้มีปัญญาง่อนแง่น
                      ๓. บางคน โผล่ขึ้นแล้วหยุดชะงัก  หมายถึง  ปุถุชนผู้มีศรัทธามั่นคง
                      ๔. บางคน โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดูไปรอบ ๆ  หมายถึง  พระโสดาบัน
                      ๕. บางคน โผล่ขึ้นแล้วลุยข้ามไปหาฝั่ง  หมายถึง  พระสกทาคามี
                      ๖. บางคน โผล่ขึ้นแล้วลุยไป ได้ที่พึ่งพิง  หมายถึง  พระอนาคามี
                      ๗. บางคน โผล่ขึ้นแล้วลุยข้ามไปจนถึงฝั่ง  หมายถึง  พระอรหันต์

 
  1. เหตุที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปุคคลเทศนา หรือสมมุติสัจจะ คืออะไรบ้าง
ตอบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐยิ่งกว่าบรรดานักปราชญ์ทั้งหลาย  ไม่ได้ทรงแสดงธรรมที่เป็นความจริงถึง ๓ ประการ  ทรงแสดงแต่เพียง ๒ เท่านั้น  คือ  สมมุติสัจจธรรมประการหนึ่ง  ปรมัตถสัจจธรรมประการหนึ่ง การที่พระองค์ทรงแสดงสัจจะ ๒ ประการนี้  ก็เพื่อประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายเพราะว่าเวไนยสัตว์บางเหล่านั้นไม่เคยศึกษาเล่าเรียนและสดับตรับฟังพระอภิธรรมในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ที่ได้ล่วงไปแล้ว  ฉะนั้น  เวไนยสัตว์เหล่านั้น  จึงมีอาจที่จะรับฟัง     ปรมัตถธรรมได้   ด้วยเหตุนี้    พระองค์จึงทรงยกสมมุติสัจจะ   คือ   เรื่องต่าง ๆ  ที่เวยไนยสัตว์ ทั้งหลายเหล่านั้นจะพึงรู้ได้โดยง่ายขึ้นแสดงเป็นประธาน  แล้วทรงยกปรมัตถสัจจะแสดงประกอบเป็นปริโยสาน
 
ความเป็นมาของคัมภีร์กถาวัตถุให้ชัดเจน
 
ตอบ คัมภีร์กถาวัตถุ เป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ แถลงวินิจฉัยทัศนะต่างๆ ที่ขัดแย้งกันระหว่างนิกายทั้งหลาย สมัยสังคายนาครั้งที่สาม กถาวัตถุได้รับขนานนามจากเหล่านักปรัชญาว่าเป็นไข่มุขแห่งปรัชญาตะวันออก เพราะในกถาวัตถุแบ่งเป็น ๒  ส่วน คือกถาวัตถุบริสุทธิ์ (ของพระพุทธเจ้า) และที่เติมมาในภายหลังเมื่อครั้งสังคายนาครั้งที่สาม กถาวัตถุส่วนที่ บริสุทธินั้นมีลักษณะไม่ใช่แบบโฆษณาชวนเชื่อใดๆ เพราะเป็นหลักตรรกะศาสตร์ล้วน มีลักษณะ ตรัสบอกเรื่องกลไกของภาษา เช่น เท็จ ใน จริง มาวางก็จะได้เท็จในจริง จริงในเท็จ เท็จในเท็จ จริงในจริง ถ้าเราใส่ของ เท็จของจริง ใส่หลัง เท็จหลังจริง เป็นต้น จึงไม่มีลักษณะโน้มน้าวใดๆเลย แม้แต่เรื่องของเหตุผล

 
  1. จงบอกมูลเหตุแห่งการแตกแยกของพระภิกษุหลังพุทธปรินิพพาน พร้อมวิจารณ์ถึงผลดี ผลเสียของการแตกแยกของพระภิกษุในสมัยนั้น
ตอบ หลังจากสังคายนาครั้งแรกไม่นาน  หลังพุทธปรินิพพาน โดยเถรวาทเองก็แยกออกเป็น ๑๘ กลุ่มความคิดต่างบางจุด
  1. จงบอกความต่างกันระหว่างตรรกศาสตร์เชิงพุทธกับตรรกศาสตร์เชิงตะวันตก
ตอบ นักคิด (ตกฺกี) ประเภทสุดท้าย คือพวก 'สุทฺธตกฺกิโก' นี้แหละที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า Logician ในทางตะวันตก เราจึงพูดได้ว่า คำว่า 'ตรรก' หรือ 'ตรรกศาสตร์' ในทัศนะของฝ่ายตะวันออกนั้น มีความหมายกว้างกว่าคำว่า Logic ของฝ่ายตะวันตก คือ ถ้าเป็น Logic ต้องเป็น 'ตรรก' (ตะวันออก) แต่ถ้าเป็น 'ตรรก' อาจจะไม่เป็น Logic ก็ได้ เช่นเดียวกับ ถ้าเป็น 'มนุษย์' ก็ต้องเป็น 'สัตว์' ด้วย แต่ถ้าเป็น 'สัตว์' อาจไม่เป็น 'มนุษย์' ก็ได้ ทั้งนี้เพราะ 'มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง' ผู้ที่จัดว่าเป็น 'ตกฺกี' นั้น ท่านหมายเอาผู้ที่เมื่อได้ตรึกตรองแล้วในที่สุดก็สรุปเอาเอง แล้วก็เกิดความยึดมั่นถือมั่นใน 'ทิฐิ' คือทฤษฎี หรือความเห็นนั้นๆ ว่าเป็นจริงเป็นจัง
 
  1. จงนำเรื่องที่ถกถียงกันในคัมภีร์กถาวัตถุมา ๑ เรื่อง แล้วเรียบเรียงตามมาติกาหรือโครงสร้างคำถามที่เรียนมาแล้ว พร้อมทั้งอธิบายเป็นขั้นตอน
ตอบ บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง อปรินิปผันนะ คือธรรมที่ไม่สำเร็จแล้ว หมายถึงธรรมที่ไม่เกิดขึ้นมาเพราะปัจจัยปรุงแต่ง ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายบางพวก และเหตุวาทะว่า ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะ คือเป็นธรรมที่สำเร็จแล้วหรือเกิดขึ้นแล้ว ส่วนธรรมที่เหลือ คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ เป็นอปรินิปผันนะคือไม่สำเร็จแล้ว ไม่เกิดขึ้นแล้ว โดยอาศัยพระพุทธพจน์ว่า ก็ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ด้วย ย่อมดับไปด้วย นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่ารูปเป็นอปรินิปผันนะหรือ หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า รูปมิใช่ของไม่เที่ยงเป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้ารูปเป็นอปรินิปผันนะไซร้ รูปนั้นก็พึงมิใช่เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ปรวาที เมื่อไม่เห็นรูปเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธสกวาที ปฏิเสธลัทธิหนึ่งของปรวาทีนั้น ด้วยคำเป็นต้นว่า รูปเป็นของไม่เที่ยงมิใช่หรือ ? เมื่อจะถามปัญหาที่ ๒ จึงกล่าวคำว่า ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะหรือ ดังนี้ ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะปฏิเสธลัทธิของปรวาทีแม้นั้นอีก จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มี-พระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์มิใช่หรือในข้อนั้น มีอธิบายว่า สัจจะที่หนึ่งเท่านั้นเป็นทุกข์อย่างเดียวก็หาไม่ก็ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่เที่ยง ธรรมนั้นก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น ทั้งรูปก็เป็นของไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นรูปแม้นั้น จึงเป็นปรินิปผันนะ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรกล่าวว่า รูปเป็นอปรินิปผันนะ ทุกข์เท่านั้นเป็นปรินิปผันนะดังนี้ การประกอบแม้ในธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้แล อนึ่งในธัมมายตนะ และธัมมธาตุทั้งหลาย เว้นพระนิพพานแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่าธรรมที่เหลือทั้งหมดเป็นอนิจจัง อินทรีย์ทั้งหลายก็เป็นอนิจจังทั้งนั้น แล อรรถกถาอปรินิปผันนกถา
 
  1. คำว่า “เถรวาท” กับ “อาจริยวาท” ต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร อธิบายให้ละเอียด
ตอบ เถรวาท และ มหายาน ๒ นิกายใหญ่ของพระพุทธศาสนา คือ 'นิกายเถรวาท' กับ 'นิกายมหายาน' มูลเหตุแห่งการแยกนิกาย ย้อนไปครั้งหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ ๓  เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับ สั่งสอนของพระองค์จำนวน ๕๐๐ รูป ประ ชุมทำสังคายนาครั้งแรก ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ ๗ เดือน จึงประมวลคำสอนได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เรียกว่า ปฐมสังคายนา เป็นบ่อเกิดของพระไตรปิฎก คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งนั้นและนับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท  แปลว่าคำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ  ซึ่งหมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนา และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักดังกล่าว เรียกว่า นิกายเถรวาท หมายถึงคณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งถ้อยคำและเนื้อความที่สังคายนาไว้โดยเคร่งครัด แม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี
 
  1. หากมีผุ้กล่าวว่าพระอภิธรรมไม่มีในพระไตรปิฎก ผู้ศึกษาจะใช้คำซักถามผู้กล่าวนั้นอย่างไร เพื่อให้ผู้นั้นมีความรู้ความเข้าใจในพระไตรปิฎกได้
ตอบ ต้องอธิบายให้เขาฟังว่า พระอภิธรรมปิฎก เป็นส่วนที่แสดงเนื้อความเกี่ยวกับความจริงขั้นสุดยอดของชีวิต กล่าวถึงส่วนประกอบของชีวิต อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน คุณสมบัติของแต่ละส่วน  ตลอดจนเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของทุกส่วนว่ามีอิทธิพลต่อกันอย่างไรบ้าง  แล้วจึงนำหนังสือพระไตรปิฏก มาอ้างอิงให้เขาดู

 
  1. ผู้ศึกษามีแนวทางในการนำวิธีการในคัมภีร์กถาวัตถุมาใช้อย่างไร จงยกตัวอย่างให้ชัดเจน
ตอบ คัมภีร์กถาวัตถุ เป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ แถลงวินิจฉัยทัศนะต่างๆ ที่ขัดแย้งกันระหว่างนิกายทั้งหลาย สมัยสังคายนาครั้งที่สาม กถาวัตถุได้รับขนานนามจากเหล่านักปรัชญาว่าเป็นไข่มุขแห่งปรัชญาตะวันออก เพราะในกถาวัตถุแบ่งเป็น  ๒ ส่วน คือกถาวัตถุบริสุทธิ์ (ของพระพุทธเจ้า) และที่เติมมาในภายหลังเมื่อครั้งสังคายนาครั้งที่สาม กถาวัตถุส่วนที่บริสุทธินั้นมีลักษณะไม่ใช่แบบโฆษณาชวนเชื่อใดๆ เพราะเป็นหลักตรรกะศาสตร์ล้วน มีลักษณะ ตรัสบอกเรื่องกลไกของภาษา เช่น เท็จ ใน จริง มาวางก็จะได้เท็จในจริง จริงในเท็จ เท็จในเท็จ จริงในจริง ถ้าเราใส่ของ เท็จของจริง ใส่หลัง เท็จหลังจริง เป็นต้น จึงไม่มีลักษณะโน้มน้าวใดๆเลย แม้แต่เรื่องของเหตุผล
     ตอบ   คัมภีร์ยมก    เป็นคัมภีร์ที่ ๖    แห่งอภิธัมมปิฎก    แบ่งออกเป็น   ๒ เล่ม หรือ    ๒ ภาค   คือ   ภาคแรก    เล่มที่ ๓๘   ว่าด้วย    ธรรมที่เป็นคู่   ๗ หัวข้อ    คือ    
     ๑. มูลยมก   ธรรมเป็นคู่อันเป็นมูล     
    ๒. ขันธยมก   ธรรมเป็นคู่ คือขันธ์    
    ๓. อายตนะยมก   ธรรมเป็นคู่คือสังขาร     
    ๔. ธาตุยมก   ธรรมเป็นคู่คือธาตุ    
    ๕. สัจจยมก   ธรรมเป็นคู่คือสัจจะ    
    ๖. สังขาร   ธรรมเป็นคู่คือสังขาร     
    ๗. อนุสสัยยมก   ธรรมเป็นคู่คืออนุสัย
    ( กิเลสอันนอนเนื่องด้วยในสันดาน )  ภาคที่ ๒   เล่มที่ ๓๙   ว่า    ธรรมที่เป็นคู่   ๓ หัวข้อ คือ    ๑. จิตตยมก   ธรรมเป็นคู่คือจิต    ๒. ธัมมยมก  ธรรมเป็นคู่คือธรรม และ    ๓. อินทรีย์ยมก   ธรรมเป็นคู่คืออินทรีย์ ( สภาพที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน)

 
  1. ในยมกปกรณ์  มีปัญหากี่ปัญหา อะไรบ้าง ให้บอกมาพร้อมด้วยความหมาย ?
ตอบ มี ๔ ประเภทด้วยกันดังนี้คือ
   ๑ ปุเรปัญหา ได้แก่ประโยคคำถามที่บทหน้ามีองค์ธรรมแต่บทหลังไม่มี หรือมีแต่ต่างกับองค์ธรรมบทหน้า หรือ คำถามที่มีองค์ธรรมของสันนิฏฐานบท และสังสยบทต่างกัน
 ๒ ปัจฉาปัญหา ได้แก่ ประโยคคำถามที่บทหลังมีองค์ธรรมมากกว่า (กว้างกว่า ) องค์ธรรมบทหน้า หรือ ทั้ง ๒ บทมีองค์ธรรมเท่ากันและเหมือนกัน หรือ คำถามที่มีองค์ธรรมของสันนิฏฐานบท และสังสยบท
๓ ปริปุณณปัญหา ได้แก่ประโยคที่บทหน้าองค์ธรรมมากกว่า (กว้างกว่า)องค์ธรรมบทหลัง หรือ ทั้ง ๒ บทมีองค์ธรรมบางอย่างเหมือนกัน บางอย่างต่างกัน หรือ คำถามที่มีองค์ธรรมต่างกัน และเหมือนกัน ปนกัน ๒ อย่าง
๔  โมฆปัญหา มีอย่างคือ
     ๑ เป็นคำถามที่ถามถึงองค์ธรรมของสันนิษฐาบทซึ่งองค์ธรรม ฉะนั้นคำถามประเภทนี้จึงเป็นโมฆะ
      ๒ เป้นคำถามที่ถามถึงองค์ธรรมของสันนิฏฐานบท แต่สังสยบทที่เป็นบทถามไม่มีองค์ธรรม ฉะนั้นคำถามนี้ก็เป็นโมฆะเช่นเดียวกัน

 
  1. คำว่า “ สรูปทัสสนวิสัชชนา “ มีกี่อย่างอะไรบ้าง ?
ตอบ สรูปทัสสนวิสัชชนามีอยู่ ๒ อย่างคือ
๑ มีวิภังค์โดยตรง ได้แก่ ปุริมโกฏฐาสะที่ปฏิเสธสังสยบท
๒ มีวิภังค์โดยอ้อม ได้แก่ ปัจฉิมโกฎฐาสะที่ปฏิเสธสังสยบท

 
  1. ยมกปกรณ์นี้  มียมกเท่าไร  คืออะไรบ้าง ?
ตอบ - ในลำดับต่อจากกถาวัตถุปกรณ์นั้น   ชื่อว่า  ยมกปกรณ์  ทรงจำแนก
ไว้   ๑๐  อย่าง  คือ
                       ๑.   มูลยมก
                       ๒.   ขันธยมก
                       ๓.   อายตนยมก
                       ๔.   ธาตุยมก
                       ๕.   สัจจยมก
                       ๖.   สังขารยมก
                       ๗.   อนุสสยยมก
                       ๘.   จิตตยมก
                       ๙.   ธรรมยมก
                      ๑๐. อินทริยยมก
         ยมกปกรณ์นั้น      ว่าโดยทางแห่งถ้อยคำ     มีประมาณ  ๑๒๐  ภาณวาร
เมื่อว่าโดยพิสดาร   ย่อมไม่มีที่สุด  ไม่มีประมาณ.
  1. ในมูลวาระ  ท่านแบ่งออกเป็นกี่บท  มีกี่นัย คืออะไรบ้าง  ?
ตอบ – มูลวาระ ท่านแบ่งออกเป็น  ปัญหาวาระ   อนุโลมนัย
                   ๑.  เหตุปัจจัย
                   ๒.  อารัมมณปัจจัย
                   ๓.  อธิปติปัจจัย
                   ๔.  อนันตรปัจจัย
 
  1. จงบอกสาเหตุที่แสดงสภาวธรรม  ๑๐  หมวดที่จัดเป็นเนื้อหา  ของคัมภีร์ยมก  ?
          ตอบ - ว่าด้วยการปุจฉา-วิสัชนา สภาวธรรม ๑๐ หมวด ด้วย วิธีการยมก คือการถาม-ตอบ เป็นคู่ๆ ซึ่งเป็นวิธีการเฉพาะ ของคัมภีร์ยมก สภาวธรรม ๑๐ หมวด ได้แก่  
          (๑) หมวดมูล (สภาวธรรมที่เป็น เหตุ)  (๒) หมวดขันธ์          (๓) หมวดอายตนะ
          (๔) หมวดธาตุ (๕) หมวด สัจจะ          (๖) หมวดสังขาร        (๗) หมวดอนุสัย
          (๘) หมวดจิต   (๙) หมวด สภาวธรรมในกุสลติกะ เรียกสั้นๆ ว่า หมวดธรรม   (๑๐) หมวดอินทรีย์        สภาวธรรม ๑๐ หมวดนี้ทำให้แบ่งเนื้อหา ของคัมภีร์ยมกออกเป็น ๑๐ ยมก  เรียกชื่อตามหมวดสภาวธรรม ที่เป็นเนื้อหา คือ  (๑) มูลยมก  (๒) ขันธยมก  (๓) อายตนยมก (๔) ธาตุยมก  (๕) สัจจยมก  (๖) สังขาร ยมก  (๗) อนุสยยมก  (๘) จิตตยมก  (๙) ธัมมยมก  (๑๐) อินทริยยมก
 
  1. องค์ธรรมที่เป็นเนื้อหาของมูลยมก  มีกี่หมวด อะไรบ้าง  ?
          ตอบ - มูลยมก (ธรรมที่เป็นคู่อันเป็นมูล)  ว่าด้วยสภาวธรรม  ที่เป็นมูล  ๔  หมวด กล่าวถึง  กุศลธรรม ธรรมอันเป็นฝ่ายดี ),         อกุศลธรรม   ( ธรรมอันเป็นฝ่ายชั่ว ),      อัพยากตธรรม 
( ธรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว )  และ  นามธรรม (ธรรมที่เกี่ยวกับจิตใจ )   คือ กุศลมูล  ๓   ได้แก่   อโลภะ ,   อโทสะ ,  อโมหะ   อกุศลมูล ๓ ได้แก่   โลภะ ,   โทสะ ,  โมหะ   อัพยากตมูล ( มูลหรือรากของธรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว) ได้แก่   อโลภะ ,    อโทสะ ,   อโมหะ   นามมูล ( มูลหรือรากของนาม) มี ๙ อย่าง ได้แก่   กุศลมูล ๓ ,   อกุศลมูล   ๓ และ อัพยากตมูล   ๓ รวมกัน.

 
  1. จงให้ความหมายคำว่ายมก  และการจัดโครงสร้างยมก  มีกี่ส่วน อะไรบ้าง  ?
          ตอบ –  คัมภีร์ยมก เป็นคัมภีร์ที่  ๖  แห่งอภิธัมมปิฎก  แบ่งออกเป็น ๒  เล่ม หรือ  ๒ ภาค   คือ   ภาคแรก    เล่มที่ ๓๘   ว่าด้วย    ธรรมที่เป็นคู่   ๗ หัวข้อ    คือ    
๑. มูลยมก   ธรรมเป็นคู่อันเป็นมูล     
๒. ขันธยมก   ธรรมเป็นคู่ คือขันธ์    
๓. อายตนะยมก   ธรรมเป็นคู่คือสังขาร     
๔. ธาตุยมก   ธรรเป็นคู่คือธาตุ    
๕. สัจจยมก   ธรรมเป็นคู่คือสัจจะ    
๖. สังขาร   ธรรมเป็นคู่คือสังขาร     
๗. อนุสสัยยมก   ธรรมเป็นคู่คืออนุสัย ( กิเลสอันนอนเนื่องด้วยในสันดาน )  
ภาคที่ ๒   เล่มที่ ๓๙   ว่า    ธรรมที่เป็นคู่   ๓ หัวข้อ   คือ     ๑. จิตตยมก   ธรรมเป็นคู่คือจิต    
          ๒. ธัมมยมก   ธรรมเป็นคู่คือธรรม และ     
          ๓. อินทรียยมก   ธรรมเป็นคู่คืออินทรีย์ ( สภาพที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ).
       
๙.  จงแสดงวิธีดำเนินการของ  ยมก  มาดู ?
          ตอบ - คัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และทดสอบความรู้อย่างลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ (ยมก แปลว่า คู่) เช่นถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล, รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์(ทั้งหมด) เป็นรูป, ทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจจ์ หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์ หลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มนี้มี ๗ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น

 
  1. ทำไมจึงกล่าวว่า  มหาปัฏฐานเป็นธรรมยิ่ง ?
    ตอบ - มหาปัฏฐาน หมายถึง ฐานที่ตั้งของความรู้ที่สำคัญยิ่ง หรือประเสริฐยิ่ง เพราะเนื้อความในมหาปัฏฐานนี้ ท่านแสดงถึงเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นของสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในสากลโลก มหาปัฏฐานจึงเป็นคัมภีร์ที่มีความสลับซับซ้อนสุขุมลุ่มลึกที่สุด เพราะเต็มไปด้วยเหตุผล จึงเป็นของยากที่วิสัยของสามัญชนจะหยั่งรู้ให้แจ่มแจ้งทั่วถึงได้ หากแต่เป็นวิสัยของพระสัพพัญญุตญาณเท่านั้นที่สามารถรู้ได้ละเอียดแจ่มแจ้ง .

 
  1. จงบอกความหมายของคำว่า  ปัฏฐาน ปัจจยาการ ปัจจยุปปันนธรรม ปัจจนีกธรรม?
    ตอบ - ปัฏฐาน แปลว่า ความตั้งอยู่โดยประการต่างๆ หมายถึง ความตั้งอยู่ของธรรมโดยอาศัยปัจจัยต่างๆ มีปัจจัย ๒๔ โดยย่อ ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดผลธรรมต่างๆ ที่มีอยู่ในสากลโลกความหมายของปัฏฐานมี ๔ นัย คือ
    ๑. เพราะอรรถว่า แสดงปัจจัยมีประการต่างๆเป็นผู้อุปการะ          
    ๒. เพราะอรรถว่า มีปัจจัยมากมายอยู่ในปัฏฐานปกรณ์นี้       
    ๓. เพราะอรรถว่า แจกธรรมมีกุศล เป็นต้น ด้วยอำนาจปัจจัยมากด้วยกัน
    ๔. เพราะอรรถว่า เป็นคัมภีร์ที่ท่องเที่ยวไปของพระสัพพัญญุตญาณ

 
  1. องค์ประกอบของปัฏฐาน  มีอะไรบ้าง ?
ตอบ - ปัฏฐานย่อมประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ คือ                        
๑. ปัจจัยธรรม ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดผล หรืออุปการะให้ผลธรรมเกิดขึ้น 
๒. ปัจจยุบบันธรรม ธรรมที่เป็นผล อันเกิดจากปัจจัย                         
๓. ปัจจนิกธรรม ธรรมที่ไม่ใช่ผล คือไม่ใช่ปัจจยุบบันธรรม หรือธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผล คือเป็นผลของปัจจัยนั้นๆไม่ได้หรือจะกล่าวอย่างง่ายๆว่า ปัจจัย คือผู้ให้ หรือผู้อุปการะ, ปัจจยุบบัน คือผู้รับ, ปัจจนิก คือผู้ไม่รับ เพราะไม่ใช่ปัจจยุบบันนั่นเอง
 
 

 
  1. ปัจจัย  ๒๔  แบ่งออกกี่ประเภท  อะไรบ้าง  ?
ตอบ - ปัจจัย ๒๔  (ลักษณะหรืออาการแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย ที่สิ่งหนึ่งหรือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุ หรือเป็นเงื่อนไขให้สิ่งอื่น หรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้น คงยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง - condition; mode of conditionality or relation)
ปัจจัย  ๒๔
     ๑.  เหตุปัจจัย              ๒.  อารัมมณปัจจัย       ๓.  อธิปติปัจจัย                        ๔.  อนันตรปัจจัย       ๕.  สมนันตรปัจจัย            ๖.  สหชาตปัจจั                   ๗.  อัญญมัญญปัจจัย   ๘.  นิสสยปัจจัย          ๙.  อุปนิสสยปัจจัย   ๑๐.  ปุเรชาตปัจจัย      ๑๑.  ปัจฉาชาตปัจจัย  ๑๒.  อาเสวนปัจจัย      ๑๓.  กัมมปัจจัย                ๑๔.  วิปากปัจจัย          ๑๕.  อาหารปัจจัย        ๑๖.   อินทริยปัจจัย๑๗.  ฌานปัจจัย                ๑๘.  มัคคปัจจัย                       ๑๙.  สัมปยุตตปัจจัย    ๒๐.  วิปปยุตตปัจจัย๒๑.  อัตถิปัจจัย                   ๒๒.  นัตถิปัจจัย           ๒๓.  วิคตปัจจัย            ๒๔.  อวิคตปัจจัย.  
 
     ๕.  จงบอกองค์ธรรมของเหตุปัจจัย  พร้อยอธิบายมาให้ชัดเจน ?
    ตอบ - ธรรมที่แสดงถึงเหตุปัจจัยชนิดต่างๆ ที่ทําให้เกิดเหตุปัจจัยต่อเนื่องสืบต่อกัน  อันเป็นผลให้เกิดทุกข์ในที่สุด,   หรือกล่าวอย่างละเอียดได้ว่า ธรรมที่แสดงถึงการที่ทุกข์เกิดขึ้นได้นั้น เพราะอาศัยเหตุปัจจัยอันเกิดต่อสืบเนื่องกันมาเป็นลําดับ...ซึ่งมีองค์ประกอบ ๑๒ ส่วนหรือองค์ธรรม  เกี่ยวเนื่องเป็นปัจจัยแก่กันและกัน  หมุนเวียนไปเป็นวงจรเกี่ยวเนื่องกันไปเป็นลําดับ แต่หาต้นหาปลายไม่ได้เพราะเป็นภวจักรหรือวงจร  ซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยอันหนึ่งเป็นปัจจัยของอีกอันหนึ่ง
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :